Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

EASY LEAN EASY LIFE… ตอนที่1


  • This topic is locked This topic is locked
3 replies to this topic

#1 Austin_man

Austin_man

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 2 posts

Posted 03 August 2009 - 10:49 AM

ผมเป็นนักอุตสาหกรรมตั้งแต่เริ่มทำงานตอนยังเป็นหนุ่มน้อยไฟแรงจนถึงปัจจุบันกลายเป็
นหนุ่มใหญ่ไฟมอดก็ยังคงวนเวียนอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมตลอดมา นักอุตสาหกรรมในความหมายของผมคือคนทำงานเกี่ยวข้องกับสายการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม อาจจะเป็นโรงงานของชาวต่างประเทศที่ย้ายฐานการผลิตมาบ้านเรา ญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี หรืออาจจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชื้อสายไทยก็แล้วแต่ ระยะเวลาในการทำงานปีที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสสำคัญจากบริษัทที่เราทำงานด้วยคือ การได้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆที่จัดขึ้น ทั้งการอบรมภายในบริษัทและหลักสูตรที่จัดขึ้น นักอุตสาหกรรมส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกันดีกับหลักสูตรระดับต้นๆ อย่าง กิจกรรม 5ส การควบคุมกระบวนการโดยสถิติ KAIZEN ความสูญเสียทั้ง 7 การระดมสมอง (Brain storming) 7 QC, Tools จนไปถึงเรื่องที่ซับซ้อนไปอีกหลายๆหลักสูตร เช่น Six Sigma เป็นต้น แต่ผมก็ไม่สามารถนำความรู้จากการศึกษาหลักสูตรเหล่านั้นมาสร้างความเปลี่ยนแปลงได้เล
ย ยกตัวอย่าง เมื่อบริษัทริเริ่มให้มีการทำกิจกกรม 5ส ขึ้น มีการจัดฝึกอบรมให้หัวหน้างานและผู้จัดการอย่างน้อยก็หนึ่งวัน มีการประชาสัมพันธ์กันใหญ่ครึกโครมเพื่อให้กิจกรรม 5ส รับรู้กันทั่งองค์กร มีการตรวจประเมินตามแผนกและสายการผลิตต่างๆ มีการติดป้ายบอกทุกอย่างในพื้นที่ตัวเองแม้กระทั่งปากกายังมีที่วางเป็นส่วนตัวพร้อม
ป้ายบอกตำแหน่งว่า “ปากกาแดง” แล้วถือเรื่องนี้เป็นความสำเร็จและหน้าตาขององค์กร แต่เบื้องหลังความสำเร็จของกิจกรรมนี้ คือความเบื่อหน่าย หวาดระแวงว่าจะถูกตรวจสอบเมื่อไหร่ ความไม่เห็นด้วยแต่ต้องทำของพนักงาน สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแต่ทุกคนทำเป็นว่ามันไม่เกิดขึ้น ถือเป็นความสิ้นเปลืองและสูญเปล่าอย่างสิ้นเชิง นี่เป็นตัวอย่างแค่ตัวอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกว่า บริษัทหรือองค์กรได้อะไรกลับไปบ้างหลังจากลงทุนกับเรื่องนี้ไปแล้ว นอกเหนือจากความสูญเปล่าที่สะอาดสะอ้าน สักระยะเวลาหนึ่งกิจกรรมนี้ก็เริ่มเลือนหายไป เนื่องจากทุกคนมีงานประจำของตัวเองที่ต้องทำ คำถามที่อยู่ในใจผมคือ ทำอย่างไรให้เรื่องเหล่านี้คงอยู่ และได้ประโยชน์สูงสุด แต่ต้องไม่สร้างภาระให้ผู้คนจนมากเกินไป มันน่าจะมีอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะเป็นเหมือนแกนกลางสำหรับให้กิจกรรมเหล่านี้เป็นส่ว
นหนึ่งของวิถีการทำงาน โดยการใช้หลักปรัชญาของกิจกรรมเหล่านั้นมาเป็นตัวขับเคลื่อน มากกว่าการจัดกิจกรรมกันครึกโครมใหญ่โต แล้วก็เลิกรากันไป เหล่านี้เป็นปัญหาที่เฝ้าถามกับตัวเองมาตลอด

เมื่อปีกลายผมได้มีโอกาสได้เข้ารับการอบบรม(แบบไม่เสียเงิน)จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เรื่อง Lean Manufacturing Practitioner ซึ่งถือเป็นการบริการสังคมอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่มีคนนอกเข้าอบรมไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ใช้เวลาอบรมทั้งหมดสี่วัน สี่วันที่ผมหายไปจากโรงงานไปนั่งเรียนหนังสือกับเด็กมหาวิทยาลัย เป็นสี่วันที่มีค่ามากสำหรับผม หลังจากจบหลักสูตรผมเริ่มเชื่อว่าอะไรที่จะเป็นแกนกลางสำหรับนำเทคนิคความรู้ต่างๆใน
หลักสูตรที่ได้ฝึกอบรมมาไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งที่จ่

ยลงไป ก็เหมือนเห็นแสงสว่างอยู่ปลายอุโมงค์ เรายังไม่สามารถสรุปได้ตอนนั้นว่านี่แหละเป็นเหมือนคำตอบสำหรับคำถามที่มีมาตลอดได้ แต่หลังจากได้นำความเข้าใจใน Lean manufacturing concept มาลองปรับใช้กับกระบวนการที่รับผิดชอบ โดยทำแบบไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Lean manufacturing เพียงการปรับเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยโดยใช้แนวคิดของ Lean ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างใหญ่หลวง แทบจะพูดได้ว่าเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวเลยทีเดียว และที่สำคัญเมื่อเราสร้างแนวคิดแบบ Lean ในสายการผลิตของเรา อารมณ์ของการอยากนำความรู้ได้เรียนรู้มาแต่เก่าก่อน เช่น 5ส, Visual Control, SPC, KAIZEN ได้ถูกกระตุ้นละนำมาใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากสำหรับผมและทีมงาน เลยทีเดียว

แต่ขั้นตอนการนำระบบ LEAN ไปใช้อย่างเต็มรูปแบบนั้น จะมีความซับซ้อนและต้องการคนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Lean Concept และ tools ต่างๆเป็นอย่างดี และสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับการนำระบบ LEAN มาใช้คือความต้องการของผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้กำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ เพื่อเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงเสียก่อน ถ้าผู้บริหารระดับสูงไม่ได้สนับสนุนในการสร้าง LEAN Manufacturing แล้ว ก็เป็นเรื่องยากมากๆสำหรับการนำระบบการผลิตแบบ LEAN มาใช้อย่างเต็มรูปแบบได้สำเร็จ แต่ในบทต่างๆของหนังสือเล่มนี้จะเป็นตัวช่วยให้แนวคิด และการเริ่มต้นปรับปรุงกระบวนอย่างง่ายๆ กับผู้สนใจที่จะเริ่มปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตที่ตนเองรับผิดชอบ ริเริ่มปรับปรุงจากจุดเล็กๆ โดยใช้หลักการของหรือแนวคิดแบบ Lean Manufacturing เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ผมเชื่อว่าความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงจากจุดเล็กๆอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเปลี
่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ขององค์กรก็ได้ ผมก็เริ่มแบบนี้เหมือนกัน

--- To be continuous ---

ขอบคุณเพื่อนๆมากนะครับที่เป็นกำลังใจให้ เนื่องจากบางหัวข้อต้องใช้รูปภาพประกอบ ผมเลยหาทางลงไว้ตาม Link นะครับ ถ้ามีโอกาสได้ update จะมาแจ้งให้ในนี้ครับ


http://writer.dek-d.com/lifeisyours


http://writer.dek-d....w.php?id=539019


ขอบคุณอีกครั้งครับ


เพิ่มเตอน

ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง? 03 Aug 2009


ทำไมต้อง LEAN? 03 Aug 2009


ว่าด้วยเรื่องความสูญเปล่า 04 Aug 2009

#2 Kreetha

Kreetha

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 870 posts
  • Gender:Male

Posted 03 August 2009 - 12:41 PM

กำลังรอตอนต่อไปครับ

ขอบคุณครับ
Oooo

#3 FAN_TEA

FAN_TEA

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 96 posts

Posted 03 August 2009 - 12:50 PM

ต่อภาค 2 เร็วๆ นะคะ

ขอบคุณสำหรับบทความดีดี
"

#4 หนูนา

หนูนา

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 91 posts

Posted 03 August 2009 - 03:33 PM

ขอบคุณสำหรับแนวคิดค่ะ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users